แผนที่ใหม่
ข้อมูลพื้นฐานตำบลท่าโสม
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลท่าโสมตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว เดิมทีเป็นป่ากว้างพื้นที่บางส่วนติดทะเล มีป่าไม้หนาแน่น การสัญจรไปมาในสมัยนั้นต้องใช้เรือเป็นพาหนะหรือเดินด้วยเท้า มีชาวบ้านตั้งถิ่นฐานน้อยมากปี พ.ศ. 2530 ได้มีการตัดถนนลาดยางผ่านตำบลทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้นมาก และได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 5 และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับเปลี่ยนองค์การบริหารส่วนตำบลจากการแบ่ง 5 ชั้น เหลือ 3 ขนาด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมได้รับการจัดขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก และในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเขาสมิง บนถนนสายแสนตุ้ง - บางกระดาน (3156) ห่างจากอำเภอเขาสมิง ระยะทาง 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดตราดระยะทาง 30 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ 92.8 ตารางกิโลเมตร จำนวนเนื้อที่ 58,037 ไร่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแสนตุ้ง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ และตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำเวฬุ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและมีภูเขาเป็นบางส่วน พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองสายต่างๆ เช่น คลองท่าโสม คลองอีโผลม เป็นต้น ในฤดูแล้งมักจะตื้นเขินและมีน้ำทะเลหนุนเข้ามาทำให้ไม่สามารถใช้น้ำได้ บริเวณที่ติดแม่น้ำเวฬุเป็นป่าชายเลน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องด้วยเป็นสภาพพื้นที่ใกล้แม่น้ำและทะเลมีสภาพอากาศและความชุ่มชื้นดี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 30 – 34 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลท่าโสมเป็นดินร่วน และมีดินร่วนปนทรายเป็นบางส่วนบริเวณแถบแม่น้ำเวฬุ เป็นพื้นที่ราบและมีภูเขาบางส่วนพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองและสระเก็บน้ำ ต่าง ๆคลอง ได้แก่ คลองท่าโสม คลองอีโผลม คลองยา คลองศอก คลองไทร คลองสลัก คลองชุมแสง คลองอ่าง และสระเก็บน้ำ ได้แก่ สระเก็บน้ำปู่ยี่ สระเก็บน้ำทุ่งตาอยู่ สระเก็บน้ำหนองสระอิด สระเก็บน้ำทุ่งช้างกล้า สระเก็บน้ำทุ่งแก่นจันทร์ สระเก็บน้ำชุมแสงบน สระเก็บน้ำสระเสม็ด สระเก็บน้ำคลองอ่าง สระเก็บน้ำ บ้านน้ำตก เป็นต้น
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
พื้นที่บางส่วนของตำบลท่าโสมมีพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ป่าชายเลน
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลท่าโสมประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมทั้งหมด ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านท่าโสม จำนวน 689 หลังคาเรือน
หมู่ที่ 2 บ้านละมีบ จำนวน 318 หลังคาเรือน
หมู่ที่ 3 บ้านสลัก จำนวน 524 หลังคาเรือน
หมู่ที่ 4 บ้านอ่างกะป่อง จำนวน 217 หลังคาเรือน
หมู่ที่ 5 บ้านน้ำตก จำนวน 110 หลังคาเรือน
ที่มา : งานทะเบียน อำเภอเขาสมิง ณ เดือน มิถุนายน 2564
2.2 การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน ตำบลท่าโสมมีจำนวน 5 หมู่บ้าน แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 5 เขต 7 หน่วยเลือกตั้ง มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,501 คน
ที่มา : งานทะเบียน อำเภอเขาสมิง พฤษภาคม 2564
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 4,425 คน แยกเป็นชาย 2,153 คน หญิง 2,272 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 48 คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูลงานทะเบียนอำเภอเขาสมิง ณ เดือน มิถุนายน 2564) โดยแยกได้ดังนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
สถิติประชากร |
รวม (คน) |
|
ประชากรชาย(คน) |
ประชากรหญิง(คน) |
|||
1 |
ท่าโสม |
727 |
818 |
1,545 |
2 |
ละมีบ |
398 |
392 |
790 |
3 |
สลัก |
598 |
621 |
1,219 |
4 |
อ่างกะป่อง |
299 |
300 |
599 |
5 |
น้ำตก |
131 |
141 |
272 |
ตำบลท่าโสม |
2,153 |
2,272 |
4,425 |
ที่มา : งานทะเบียน อำเภอเขาสมิง ณ เดือน มิถุนายน 2564
ตามรางเปรียบเทียบจำนวนประชากรย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2561-2563)
ประชากร |
ปี 2561 |
ปี 2562 |
ปี 2563 |
เพศชาย |
2,172 |
2,156 |
2,155 |
เพศหญิง |
2,293 |
2,293 |
2,275 |
รวม |
4,465 |
4,449 |
4,430 |
ที่มา : งานทะเบียน อำเภอเขาสมิง
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากร(เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย) ทั้งสิ้น จำนวน 4,425 คน แยกเป็นชาย 2,153 คน หญิง 2,272 คน แยกตามช่วงอายุ (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย) ดังนี้
ที่ |
ช่วงอายุ |
เพศ |
รวม (คน) |
|
ชาย(คน) |
หญิง(คน) |
|||
1 |
ช่วงอายุน้อยกว่า 1 ปี |
19 |
21 |
40 |
2 |
ช่วงอายุ 1-10 ปี |
238 |
218 |
456 |
3 |
ช่วงอายุ 11-20 ปี |
281 |
296 |
577 |
4 |
ช่วงอายุ 21-30 ปี |
269 |
292 |
561 |
5 |
ช่วงอายุ 31-40 ปี |
340 |
298 |
638 |
6 |
ช่วงอายุ 41-50 ปี |
340 |
382 |
722 |
7 |
ช่วงอายุ 51-60 ปี |
305 |
351 |
656 |
8 |
อายุ 61 ปีขึ้นไป |
361 |
414 |
775 |
ตำบลท่าโสม |
2,153 |
2,272 |
4,425 |
ที่มา : งานทะเบียน อำเภอเขาสมิง ณ เดือนมิถุนายน 2564
4.1 การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม มีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนวัดท่าโสม มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 257 คน จำนวนครู 17 คน จัดการเรียน การสอนในระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 3
2) โรงเรียนบ้านคลองศอกมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 103 คน จำนวนครู 9 คน จัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
3) โรงเรียนวัดสลักมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 63 คน จำนวนครู 7 คน จัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
4) โรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 142 คน จำนวนครู 19 คน จัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 3
5) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าโสม มีจำนวนเด็กเล็ก 26 คน จำนวนครู 2 คน
6) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสลัก มีจำนวนเด็กเล็ก 16 คน จำนวนครู 1 คน
4.2 สาธารณสุข
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโสม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านท่าโสม ตำบลท่าโสม
4.3 การสังคมสงเคราะห์
ผู้สูงอายุ
- ข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมซึ่งจ่ายในอัตราขั้นบันได มีรายละเอียด ดังนี้
ช่วงอายุ 60-69 ปี ได้รับในอัตรา 600 บาท จำนวน 424 คน
ช่วงอายุ 70-79 ปี ได้รับในอัตรา 700 บาท จำนวน 217 คน
ช่วงอายุ 80-89 ปี ได้รับในอัตรา 800 บาท จำนวน 96 คน
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับในอัตรา 1,000 บาท จำนวน 16 คน
รวมผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพทั้งสิ้น จำนวน 753 คน
ผู้พิการ
- ข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้พิการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม ซึ่งจ่ายในอัตราช่วงอายุ มีรายละเอียด ดังนี้
ผู้พิการอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับในอัตรา 1,000 บาท จำนวน 8 คน
ผู้พิการอายุ 18 ปี ขึ้นไป ได้รับในอัตรา 800 บาท จำนวน 98 คน
รวมผู้พิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพทั้งสิ้น จำนวน 106 คน
ผู้ติดเชื้อ
- ข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้ติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม มีรายละเอียด ดังนี้
เบี้ยยังชีพผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น จำนวน 10 คน ได้รับในอัตรา 500 บาทต่อคน
ที่มา : งานสวัสดิการสังคม อบต.ท่าโสม ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564
5.1 การคมนาคมขนส่ง
เส้นทางการคมนาคมทางบก เส้นทางหลักมี 1 เส้นทาง คือ ถนนสายแสนตุ้ง – บางกระดาน สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางตลอดสาย สำหรับเส้นทางย่อยแยกจากเส้นทางหลักที่สำคัญมี 2 เส้นทาง คือ ถนนสายท่าโสม – เขาระกำ และถนนสายชุมแสง - อ่างกะป่อง สภาพเส้นทางเป็นถนนสายลาดยางตลอดสายนอกจากนั้นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม ยังมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนดินลูกรังกระจายอยู่ตามพื้นที่
เส้นทางการคมนาคมทางอากาศ มีสนามบิน 1 แห่ง สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ เป็นสายการบินที่ให้บริการในประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 3 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เบอร์โทรศัพท์ 039-525777 หรือ www.bangkokair.com
เส้นทางการคมนาคมทางเรือ มีท่าเทียบเรือสะพานปลาขององค์การบริหารส่วนจำหวัดตราด 1 แห่ง และเป็นท่าเทียบขนาดเล็กสำหรับขึ้น - ลง เรือประมง 7 แห่ง
5.2 การไฟฟ้า
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมมีจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ประมาณ 1,615 ครัวเรือน
5.3 การประปา
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมประชาชนใช้น้ำจากประปาจำนวน 1,104 ครัวเรือน แยกเป็นประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 905 ครัวเรือน และประปาหมู่บ้าน จำนวน 199 ครัวเรือน โดยแยกได้ดังนี้
ประปาส่วนภูมิภาค
หมู่ที่ 1 บ้านท่าโสม มีผู้ใช้น้ำจำนวน 395 ครัวเรือน
หมู่ที่ 2 บ้านละมีบ มีผู้ใช้น้ำจำนวน 190 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3 บ้านสลัก มีผู้ใช้น้ำจำนวน 320 ครัวเรือน
ที่มา : อบต.ท่าโสม
ประปาหมู่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านอ่างกะป่อง มีผู้ใช้น้ำจำนวน 139 ครัวเรือน
หมู่ที่ 5 บ้านน้ำตก มีผู้ใช้น้ำจำนวน 60 ครัวเรือน
ที่มา : กลุ่มผู้ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน ทั้ง 5 หมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสาร
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์แสนตุ้ง ตั้งอยู่ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ห่างจากตำบลท่าโสมประมาณ 12 กิโลเมตร
6.1 การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา สวนสับปะรด และ
สวนผลไม้ต่างๆ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง เป็นต้น
6.2 การประมง
ตำบลท่าโสมมีการประกอบอาชีพประมง ได้แก่ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และประมงชายฝั่ง
6.3 การปศุสัตว์
ตำบลท่าโสมมีการเลี้ยงสุกร ในหมู่ที่ 4 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
6.4 การบริการ
หน่วยธุรกิจในเขตพื้นที่ตำบลท่าโสม
1) ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง (ม.1)
2) ตลาดนัด จำนวน 3 แห่ง (ม.1)
3) ร้านเสริมสวย จำนวน 4 แห่ง (ม.1 จำนวน 2 แห่ง, ม.2 จำนวน 2 แห่ง)
4) ร้านซ่อมรถยนต์ จำนวน 1 แห่ง (ม.3)
5) ร้อนซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน 5 แห่ง (ม.1 จำนวน 2 แห่ง, ม.2 จำนวน 2 แห่ง,ม.3 จำนวน 1 แห่ง)
6) ร้านค้า จำนวน 108 แห่ง (ม.1 จำนวน 47 แห่ง, ม.2 จำนวน 14 แห่ง,ม.3 จำนวน 30 แห่ง, ม.4 จำนวน 15 แห่ง และ ม.5 จำนวน 2 แห่ง)
7) ร้านขายยา จำนวน 1 แห่ง (ม.1)
ที่มา : งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลัง อบต.ท่าโสม
6.5 การท่องเที่ยว
ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว
สำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) ศูนย์ท่าโสม เลขที่ 222 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โทรศัพท์ 0-39516041-4 โทรสาร 0-3951 6045
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
6.6 อุตสาหกรรม
ตำบลท่าโสมไม่มีการทำอุตสาหกรรมในพื้นที่
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ตำบลท่าโสมมีกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มอาชีพทำสวนยางพารา 2) กลุ่มอาชีพทำสวนสับปะรด
3) กลุ่มอาชีพทำสวนผลไม้ 4) กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง
6.8 แรงงาน
การประกอบอาชีพของประชาชนในตำบลท่าโสมใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก และเมื่อถึงฤดูกาลเก็บผลไม้ต้องจ้างแรงงานในหมู่บ้านหรือแรงงานต่างถิ่นเข้ามาช่วย
7.1 การนับถือศาสนา
ในพื้นที่ตำบลท่าโสมประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา จำนวน 4 วัด ได้แก่
1) วัดท่าโสม ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
2) วัดละมีบ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
3) วัดสลัก ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
4) วัดอ่างกระป่อง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
1) ประเพณีทำบุญวันสงกรานต์
2) ประเพณีตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
3) ประเพณีวันลอยกระทง
4) ประเพณีทอดผ้าป่ายางพารา
5) ประเพณีทำบุญคลอง
6) ประเพณีไหว้ครูดนตรีไทย
7) งานรำลึกสมเด็จย่า
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมมีภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปินด้านดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ ละครชาตรี และอังกะลุง หมู่ที่ 3 บ้านสลัก ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ตำบลท่าโสมมีหอยนางรมสดเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการเลี้ยงเองโดยเกษตรกรในตำบลแล้วจะนำมาจำหน่ายแก่ผู้ซื้อโดยตรงทำให้หอยนางรมสดของตำบลเป็นที่ชื่นชอบของคนโดยทั่วไปและนอกจากนี้ตำบลท่าโสมยังมีผลไม้หลากหลายตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สับปะรด และผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาลอีกหลายชนิด
8.1 น้ำ
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสมมีแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง เช่น ลำคลอง สระเก็บน้ำ บ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น ประปาส่วนภูมิภาค และระบบประปาหมู่บ้าน
8.2 ป่าไม้
ในพื้นที่ตำบลท่าโสมมีป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ป่าท่าโสม
8.3 ภูเขา
ในพื้นที่ตำบลท่าโสมมีภูเขา ได้แก่ เขาสะบัด เขาตะบก เขาหินเหล็กไฟ เขากระโจม
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ในพื้นที่ตำบลท่าโสมมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรป่าชายเลน เป็นต้น ซึ่งทรัพยากรบางอย่างเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป และบางอย่างต้องสร้างขึ้นมาทดแทน เช่น ป่าไม้ ซึ่งองค์การบริหารตำบลท่าโสมได้จัดทำโครงการปลูกป่าขึ้นมาทดแทนทั้งป่าชายเลนและป่าชุมชน
9.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ตารางแสดงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ลำดับที่ |
รายการ |
จำนวนไร่โดยประมาณ |
|||||
หมู่ 1 |
หมู่ 2 |
หมู่ 3 |
หมู่ 4 |
หมู่ 5 |
รวม |
||
1 |
พื้นที่แต่ละหมู่ |
20,037 |
10,625 |
14,875 |
5,625 |
6,875 |
58,037 |
2 |
พื้นที่อยู่อาศัยแต่ละหมู่ |
370 |
150 |
270 |
150 |
70 |
1,010 |
3 |
พื้นที่ว่างเปล่าแต่ละหมู่ |
630 |
475 |
595 |
225 |
275 |
2,200 |
4 |
พื้นที่การเกษตรแต่ละหมู่ |
17,000 |
9,000 |
12,610 |
4,770 |
5,840 |
49,220 |
5 |
พื้นที่สาธารณะแต่ละหมู่ |
2,000 |
1,000 |
1,437 |
480 |
690 |
5,607 |
ที่มา : อบต.ท่าโสม
9.2 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
ในพื้นที่ตำบลท่าโสมประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีแหล่งน้ำสาธารณะที่ใช้ในการทำการเกษตร ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านท่าโสม มีสระเก็บน้ำ 7 แห่ง
ประกอบด้วย สระหนองอีรึม, สระปู่ยี่, สระทุ่งตกหมอก, สระอิด, สระหลังอนามัย และสระหลวง
หมู่ที่ 2 บ้านละมีบ มีสระเก็บน้ำ 4 แห่ง
ประกอบด้วย สระพัฒนาที่ดิน, สระทุ่งช้างกล้า, สระทุ่งแก่นจันทน์ และสระดอนศาล
หมู่ที่ 3 บ้านสลัก มีสระเก็บน้ำ 4 แห่ง
ประกอบด้วย สระแห้ง, สระเสม็ด, สระชุมแสง และสระตะเคียน
หมู่ที่ 4 บ้านอ่างกะป่อง มีสระเก็บน้ำ 1 แห่ง
ประกอบด้วย สระคลองอ่าง
หมู่ที่ 5 บ้านน้ำตก มีสระเก็บน้ำ 3 แห่ง
ประกอบด้วย สระบ้านน้ำตก 1, สระบ้านน้ำตก 2, สระบ้านน้ำตก 3
.